สัตย์เลี้ยงน่ารัก

All posts in the สัตย์เลี้ยงน่ารัก category

การเลี้ยงเป็ดไข่

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงเป็ดไข่

 

     
           
  การเลี้ยงเป็ดไข่
          “ไข่เป็ด”  เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง และนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี แต่ในปัจจุบันไข่เป็ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค  เพราะเป็ดไข่เลี้ยงค่อนข้างยาก หากเป็ดเกิดอาการตกใจหรือดูแลไม่ดีพอก็จะไม่ยอมไข่  การเลี้ยงเป็ดไข่นิยมเลี้ยงเป็ดพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์กากีแคมเบลล์กับพันธุ์พื้นเมือง เพราะเลี้ยงง่ายกว่า ทนทาน ให้ไข่ดกประมาณ  260  ฟองต่อปี  และให้เนื้อดี
          ลักษณะของเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ผสมกับเป็ดพื้นเมือง  จะมีขนสีน้ำตาล  ขนที่หลังและปีกมีสีสลับอ่อนกว่า  ปากดำค่อนข้างไปในทางเขียว จงอยปากต่ำ  ตาสีน้ำตาลเข้ม  ตัวเมียตัวโตเต็มที่หนักประมาณ  2-5  กิโลกรัม  จะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ  4  เดือนครึ่ง
       
การเลี้ยงเป็ดไข่

          เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน  ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ  7  วัน  ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี  พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ
          โรงเรือนต้องแบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  เป็นลานกว้าง  มีหลังคา  กันแดด  กันลม  กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้  จัดที่ให้อาหารและน้ำ
          อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ  มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต  เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ  ออกกำลังกาย
          การให้อาหาร  คือ  หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว  คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ  3  ครั้ง  เช้า  กลางวัน  เย็น
          ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์  จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ  5  เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด  ตามแอ่ง  มุมต่าง ๆ  ของคอก  
           วิธีการเก็บไข่  คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ  3  ฟอง  จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด  แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

การจัดจำหน่าย
          ไข่เป็ดที่คัดขนาดแล้ว  จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ  เพื่อนำไปส่งอีกทอดหนึ่ง  การเลี้ยงเป็ดไข่  จะเก็บไข่ขายได้ในระยะเวลายาว  ขายได้กำไรดี เพราะเป็ดสามารถไข่ได้นานถึง  2  ปี หลังจากที่เป็ดหมดระยะไข่แล้ว  ยังสามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ เพื่อประกอบอาหารได้อีกด้วย

เคล็ดลับ
          เป็ดไข่ที่ไม่ไข่ สามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ  มูลเป็ดทำเป็นปุ๋ย ในบ่อน้ำใช้เลี้ยงเป็ดยังสามารถเลี้ยงปลาได้  โดยไม่ต้องเปลืองค่าอาหารเป็นการเพิ่มรายได้ทางอ้อม

 
       
 
       

 

การเลี้ยงโค

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงโค

 


โคพื้นเมือง

 

โคพื้นเมือง
โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว
เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก
หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ
มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วย
เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.
ข้อดี  
1.
เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหารเพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยง แบบไล่ต้อนโดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
2.
ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
3.
ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
4.
ใช้แรงงานได้ดี
5.
แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน โคพันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือ โคกบินทร์บุรี
6.
มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารแบบไทย
7.
สามารถใช้งานได้
 
ข้อเสีย 
1.
เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด
2.
ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือ ที่น้ำหนักมีชีวิต 450 ก.ก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก
3.
เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โลเล่ย์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการตลอดยาก



โคพันธุ์บราห์มัน 
โคพันธุ์บราห์มัน
มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย แต่ถูกปรับปรุงพันธุ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โคพันธุ์นี้ที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย แล้วนำมาคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โดยกรมปศุสัตว์และฟาร์มของเกษตรกรรายใหญ่ในประเทศ
เป็นโคที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวกว้าง ยาว และลึก ได้สัดส่วน หลังตรง หนอกใหญ่ หูใหญ่ยาว จมูก ริมฝีปาก ขนตา กีบเท้าและหนังเป็นสีดำ เหนียงทีคอและหนังใต้ท้องหย่อนยาน โคนหางใหญ่ พู่หางสีดำ สีจะมีสีเขา เทา และแดง ที่นิยมเลี้ยงกันมากคือสีขาว เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 800-1,200 ก.ก. เพศเมียประมาณ 500-700 ก.ก.
ข้อดี  
1.
ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อนของเมืองไทยได้ดี
2.
ทนทานต่อโรคและแมลง โตเร็ว
3.
เหมาะสำหรับเป็นโคพื้นฐานเพื่อผลิตโคเนื้อคุณภาพดีและโคนม เช่น ผสมกับพันธุ์ชาร์โรเลส์เพื่อผลิตโคขุน ผสมกับพันธุ์โฮสสไตน์ฟรีเชี่ยน (ขาวดำ) เพื่อผลิตโคนม และผสมกับพันธุ์ซิมเมนทอลเพื่อผลิตโคกึ่งเนื้อกึ่งนม
4.
สามารถใช้งานได้
 
ข้อเสีย 
1.
เป็นโคพันธุ์ที่มีอ้ตราการผสมติดค่อนข้างต่ำ ให้ลูกตัวแรกช้า และให้ลูกค่อนข้างห่าง
2.
ส่วนใหญ่เลือกกินเฉพาะหญ้าที่มีคุณภาพดี เมื่อหญ้าขาดแคลนจะทรุดง่าย ซึ่งจะเห็นได้จากเมื่อปล่อยเข้าแปลงหญ้าจะเดินตระเวนไปทั่วแปลงหญ้าก่อนแล้วจึงค่อยเลือกกินหญ้า



โคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์
โคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์
มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส มีสีขาวครีมตลอดตัว รูปร่างมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาสั้น ลำตัวกว้าง ยาว และลึก มีกล้ามเนื้อตลอดทั้งตัว นิสัยเชื่อง เป็นโคที่มีขนาดใหญ่มาก เพศผู้เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 1,100 ก.ก. เพศเมีย 700-800 ก.ก.
ข้อดี  
1.
มีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี
2.
เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคบราห์มันหรือลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุน
 
ข้อเสีย 
1.
ถ้าเลี้ยงเป็นพันธุ์แท้หรือมีสายเลือดสูงๆ จะไม่ทนต่อสภาพอากาศในบ้านเรา
2.
ไม่เหมาะที่จะใช้ผสมกับแม่โคขนาดเล็ก เพราะอาจทำให้คลอดยาก



โคพันธุ์ซิมเมนทัล
โคพันธุ์ซิมเมนทัล
มีถิ่นกำเนิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นิยมเลี้ยงกันในประเทศยุโรป ในเยอรมันเรียกว่าพันธุ์เฟลคฟี (Fleckvieh) ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม ในประเทศสหรัฐอเมริกานำไปคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อ ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือแดงเข้มไปจนถึงสีฟางหรือเหลืองทองและมีสีขาวกระจายแทรกทั่วไป หน้าขาว ท้องขาว และขาขาว เป็นโคขนาดใหญ่ โครงร่างเป็นสี่เหลี่ยม ลำตัวยาว ลึก บั้นท้ายใหญ่ ช่วงขาสั้นและแข็งแรง เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 1,100-1,300 ก.ก. เพศเมีย 650-800 ก.ก.
ข้อดี  
1.
มีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) เป็นที่ต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี
2.
เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคบราห์มันหรือลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุน เพศเมียสามารถใช้รีดนมได้
 
ข้อเสีย 
1.
ถ้าเลี้ยงเป็นพันธุ์แท้หรือมีสายเลือดสูงๆ จะไม่ทนต่อสภาพอากาศในบ้านเรา
2.
ไม่เหมาะที่จะใช้ผสมกับแม่โคขนาดเล็ก เพราะอาจทำให้คลอดยาก
3.
เนื่องจากเนื้อมีสีแดงเข้ม เมื่อเลี้ยงเป็นโคขุนอาจะไม่น่ากินเท่ากับพันธุ์ชาร์โรเล่ส์



โคพันธุ์ตาก
โคพันธุ์ตาก
เป็นโคลูกผสมระหว่างพันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ที่โตเร็ว เนื้อนุ่ม เพื่อทดแทนการนำเข้าพันธุ์โคและะเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศ

การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธู์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูงจากประเทศฝรั่งเศส ผสมกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้โคลูกผสมชั่วที่ 1 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก 1) ที่มีเลือด 50% ชาร์โรเล่ส์ และ 50% บราห์มัน แล้วผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 1 ดังกล่าวด้วยน้ำเชื้อหรือพ่อบราห์มันพันธุ์แท้ได้ลูกโคชั่วที่ 2 (เรียกโคพันธุ์ตาก 2) ซึ่งมีเลือด 25% ชาร์โรเล่ส์ และ 75% บราห์มัน จากนั้นผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 2 ด้วยน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูง ได้ลูกโคชั่วที่ 3 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก) ซึ่งมีเลือด 62.5% ชาร์โรเล่ส์ และ 37.5% บราห์มัน แล้วนำโคชั่วที่ 3 ผสมกัน คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ เรียกว่า โคพันธุ์ตาก

ข้อดี  
1.
มีการเติบโตเร็ว ่ เนื้อนุ่ม เนื้อสันมีไขมันแทรก (marbling) ซากมีขนาดใหญ่ที่สนองความต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดี
2.
เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกกินหญ้า ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีพอสมควร
3.
เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคพื้นเมือง โคบราห์มันและลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกมาเลี้ยงเป็นโคขุนได้
4.
แม่พันธุ์ผสมพันธุ์ได้เร็ว ที่ศูนย์ฯ ตาก ผสมพันธุ์ที่แม่โคอายุ 14 เดือน น้ำหนัก 280 ก.ก.ขึ้นไป
 
ข้อเสีย 
1.
การเลี้ยงต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่พอสมควร ไม่เหมาะที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในป่าโดยไม่ดูแลเอาใจใส่ หากเลี้ยงในสภาพปล่อยป่าหรือปล่อยทุ่ง ควรใช้พันธุ์ตาก 1 หรือโคพันธุ์ตาก 2



โคพันธุ์กำแพงแสน
โคพันธุ์กำแพงแสน
เป็นโคพันธุ์ใหม่ปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยใช้พันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับบราห์มัน คล้ายกับโคพันธุ์ตาก แต่โคพันธุ์กำแพงแสนเริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์จากโคพื้นเมือง โคพันธุ์กำแพงแสนมีสายเลือด 25% พื้นเมือง 25% บราห์มัน และ 50% ชาร์โรเล่ส์ ส่วนลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ คล้ายกับโคพันธุ์ตาก



โคพันธุ์กบินทร์บุรี
โคพันธุ์กบินทร์บุรี
เป็นโคลูกผสมระหว่างพันธุ์ซิมเมนทัลกับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี (ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอกบินทร์บุรี) ทำการสร้างโคพันธุ์ใหม่ให้เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม โดยลูกโคเพศผู้ใช้เป็นโคขุน และแม่โคใช้รีดนมได้ การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธุ์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ซิมเมนทัลคุณภาพสูงจากประเทศเยอรมันผามกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้ลูกโคชั่วที่ 1 ที่มีเลือด 50% ซิมเมนทัล และ 50% บราห์มัน แล้วผสมโคชั่วที่ 1 เข้าด้วยกัน คัดเลือกปรับปรุงให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่เรียกว่า โคพันธุ์กบินทร์บุรี
ข้อดี  
1.
หากเลี้ยงแบบโคเนื้อมีการเติบโตเร็ว ซากมีขนาดใหญ่ที่สนองความต้องการของตลาดเนื้อโคคุณภาพดีได้
2.
ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีพอสมควร
3.
เหมาะที่จะนำมาผสมกับแม่โคพื้นเมือง โคบราห์มันและลูกผสมบราห์มันเพื่อนำลูกเพศผู้มาเลี้ยงเป็นโคขุน ลูกเพศเมียใช้รีดนมได้มากพอสมควร
 
ข้อเสีย 
1.
การเลี้ยงต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่พอสมควร ไม่เหมาะที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในป่าหรือปล่อยทุ่ง
2.
หากใช้แม่โครีดนม ลูกโคที่เกิดออกมาต้องแยกเลี้ยงแบบลูกโคนม ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ในการเลี้ยงโครีดนม และต้องดูแลเอาใจใส่ให้ดี
3.
เนื้อมีสีแดงเข้ม อาจเป็นข้อติของตลาดเนื้อโคคุณภาพดีเมื่อเปรียบเทียบกับโคลูกผสมชาร์โรเล่ส์ เช่น โคพันธุ์ตาก และโคกำแพงแสน



โคพันธุ์เดร้าท์มาสเตอร์
เป็นโคพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในประเทศออสเตรเลีย กรมปศุสัตว์เคยนำเข้ามาศึกษาทดลองเลี้ยง ขณะนี้ยังคงมีเลี้ยงในฟาร์มเอกชนบางแห่ง เป็นโคลูกผสมที่มีสายเลือดโคพันธุ์บราห์มัน 3/8-1/2 พันธุ์ชอร์ทฮอร์น 1/2-5/8 และพันธุ์เฮียร์ฟอร์ดอยู่เล็กน้อย มีสีแดง มีทั้งมีเขาและไม่มีเขา มีตระโหนกเล็กน้อยตรงหัวไหล่ มีเหนียงหย่อนเล็กน้อย ลำตัวลึกเรียบ ทนแล้งและอากาศร้อนชื้น ทนโรคเห็บ การเจริญเติบโตเร็ว เปอร์เซนต์ซากและคุณภาพซากดี



โคพันธุ์ฮินดูบราซิล
โคพันธุ์ฮินดูบราซิล
เป็นโคที่มีเชื้อสายโคอินเดียเช่นเดียวกับโคบราห์มัน แต่ปรับปรุงพันธุ์ที่ประเทศบราซิล สีมีตั้งแต่สีขาวจนถึงสีเทาเกือบดำ สีแดง แดงเรื่อๆ หรือแดงจุดขาว หน้าผากโหนกกว้างค่อนข้างยาว หูมีขนาดกว้างปานกลางและห้อยยาวมาก ปลายใบหูมักจะบิด เขาแข็งแรงมักจะเอนไปด้านหลัง หนอกมีขนาดใหญ่ ผิวหนังและเหนียงหย่อนยานมาก เป็นโคที่มีขนาดใหญ่และค่อนข้างสูง เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 900-1,200 ก.ก. เพศเมีย 600-700 ก.ก.
ข้อดี  
1.
เป็นโคทนร้อน ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศบ้านเราได้
2.
ทนต่อโรคและแมลง
 
ข้อเสีย 
1.
ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงเป็นโคเนื้อที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นโคขนาดใหญ่ สร้างกล้ามเนื้อช้า ผู้เลี้ยงโคขุนจึงไม่นิยมนำไปเลี้ยงขุน อาจเป็นเพราะในบ้านเราในอดีตนิยมเลี้ยงตัวที่มีลักษณะสวยงาม เช่น หูยาว หน้าผากโหนกกว้าง แทนที่จะเลือกโคที่โตเร็ว การส่งเสริมให้เลี้ยงโคพันธุ์นี้มากขึ้นจะเป็นการทำลายเศรษฐกิจของประเทศ เพราะจไปแย่งทรัพยากรที่ควรใช้ในการเลี้ยงโคพันธุ์อื่นที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่า
2.
การเลี้ยงต้องเอาใจใส่ดูแลพอสมควร ไม่เหมาะที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในป่าหรือปล่อยทุ่งโดยไม่ดูแลเอาใจใส่
 

การเลี้ยงหนูแฮมเตอร์

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงหนูแฮมเตอร์

วิธีการเลี้ยงหนูแฮมเตอร์
อาหารหลักที่ควรให้แฮมสเตอร์ คือ ธัญพืชโดยจะโปรยอาหารลงบนพื้นก็ได้เพราะแฮมสเตอร์ไม่มีนิสัยชอบก้มกิน มันจะชอบหยิบอหารออกมากินนอกภาชนะมากกว่า โดยใช้เท้าหน้าจับอาหารกิน แต่การใช้ภาชนะมีข้อดี คือจะทำให้เราได้รู้ว่ามันเอาอาหารออกไปกิน มากน้อยแค่ไหน ถ้ามันป่วยเราก็รู้ได้ นอกจากนี้ การใส่ภาชนะยังทำให้อาหารและขี้เลื่อยไม่ปะปนกันทำให้การเปลื่ยนขี้เลื่อยทำได้ง่ายโ
ยไม่ต้องทิ้งอาหารที่ปนกับขี้เลื่อย
สิ่งที่ควรทราบในการให้อาหารแฮมสเตอร์
 
อ่านบทความนี้ทั้งหมด →

การเลี้ยงนก

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงนก

การเลี้ยงและการจัดการ
การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสุกร โค กระบือ ไก่ และอื่น ๆ ย่อมต้องการอาหารและวิธีการเลี้ยงดู
ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุของสัตว์ การเลี้ยงนกกระจอกเทศก็เช่นเดียวกันวิธีการเลี้ยงดูในแต่ละช่วงอายุก็จะ
แตกต่างกันด้วย ดังนี้
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุ 0 – 4 สัปดาห์
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศระยะนี้คือ อุปกรณ์สำหรับให้น้ำ ให้อาหาร
เครื่องกกลูกนก วัสดุรองพื้น เป็นต้น ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะทำการกกนอกจากนี้อุปกรณ์
ดังกล่าวจะต้องสะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วสำหรับเครื่องกกลูกนกก็ต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อย
เสียก่อนลูกนกมาถึงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สำหรับข้อควรปฎิบัติเกี่ยวกับการจัดการและเลี้ยงดูลูกนกกระจอกเทศ
ระยะนี้ มีดังนี้
1. ติดไฟเครื่องกกก่อนที่ลุกนกกระจอกเทศมาถึง 3 – 4 ชั่วโมง โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 90 – 95 F
2. เติมวิตามินในน้ำสำหรับการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศ ก่อนลูกนกมาถึง 1 -2 ชั่วโมง เพื่อปรับให้
อุณหภูมิของน้ำ มีความแตกต่างจากสภาพแวดล้อมไม่มากนัก และให้กินน้ำผสมวิตามิน 10 – 14 วัน
3. ลูกนกกระจอกเทศ อายุ 2 – 3 วันแรก อาจจะไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เพื่อให้ลูกนกกระจอกเทศ
ดูดซึมและย่อยไข่แดงให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้อาหารข้นที่มีโปรตีน 20 – 22% พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่
แคลเซียม 1.4% ฟอสฟอรัส 0.7% หลังจาก 7 – 10 วันอาจให้หญ้าสสดที่สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แก่ลูกนกกระจอกเทศ
เพิ่มขึ้น และควรตั้งหินเกล็ดไว้ให้กินตลอดเวลา
4. ระยะแรกลูกนกกระจอกเทศจะยังไม่รู้จักที่ให้น้ำที่ให้อาหารโดยนำลูกนกไปที่ที่ให้น้ำแล้วจับปาก
จุ่มน้ำ 2 – 3 ครั้ง
เนื่องจากนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ชอบเล่น ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารอาจจะใส่ลูกบอลพลาสติก
ลูกปิงปอง หรือลูกกอล์ฟ เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วยจิกกินอาหารไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหาร
ได้มากยิ่งขึ้น
5. ควรขยายวงล้อมกกออกทุก ๆ 3 – 4 วัน การขยายกกออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศและ
ควรลดอุณหภูมิในการกกลงครั้งละ 5 F โดยจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศนานประมาณ 8 สัปดาห์ทั้งนี้ให้
สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย
6. อัตราส่วนของรางอาหารและรางน้ำ 4 เซนติเมตรต่อลูกนกกระจอกเทศหนัง 1 กิโลกรัม
7. อัตราการเจริญเติบโตระยะแรกประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการ
เจริญเติบโตจะน้อยกว่าเดือนละ 1 ฟุต
8. ให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมงในระยะ 4 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นให้แสงสว่างลดลงเหลือ
20 – 23 ชั่วโมง
9. ควรตรวจดูวัสดุรองพื้น จะต้องไม่ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่นหรือมีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย ถ้ามีต้อง
รีบแก้ไขทีนที
10. ควรสังเกตอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่ปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อน ไม่แข็ง
แห้งหรือเป็นเมล็ดเหมือนแพะ ปัสสาวะจะต้องเป็นน้ำใสไม่เหนียวหรือขุ่นข้น
11. ควรเข้มงวดเรื่องสุขาภิบาล เมื่อนกกระจอกเทศแสดงอาการผิดปกติจะต้องรีบหาสาเหตุ เพื่อหาทาง
แก้ไขโดยด่วนต่อไป
การเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก (อายุ 1 – 3 เดือน)
เมื่อครบกำหนดกกลูกนกกระจอกเทศหรือเห็นว่าลูกนกแข็งแรงดีแล้วให้ยกเครื่องกกออก แต่ต้องทำด้วย
ความระมัดระวังอย่าให้ตื่นตกใจ โดยมีการจัดการ ดังนี้
1. ยกเครื่องกกออก และสังเกตอาการของลูกนกกระจอกเทศหากพบอาการผิดปกติให้รีบหาสาเหตุและ
แก้ไขโดยทันที
2. ภาชนะที่ให้อาหารควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และให้อาหารนกกระจอกเทศเล็กครั้งละ
น้อยๆ วันละ 4 – 5 ครั้งส่วนภาชนะที่ให้น้ำควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และมีน้ำให้นกกระจอกเทศกิน
ตลอดเวลาด้วย
3. เมื่อลูกนกกระจอกเทศสมบูรณ์และแข็งแรงดีแล้ว ควรปล่อยให้ลูกนก ออกไปเดินเล่นด้วย ซึ่งจะทำให้
ลูกนกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. ตรวจสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศเป็นประจำทุกวันตลอดจนสภาพแวดล้อม การระบายอากาศและ
สภาพของวัสดุรองพื้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
5. บันทึกอัตราการตาย การกินอาหาร การให้ยาหรือวัคซีน การเจริญเติบโต ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่จะ
เป็นประโยชน์ในการพิจารณาแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
การเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4 – 23 เดือน)
การเลี้ยงและการจัดการในระยะนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่นกกระจอกเทศมีการเจริญเติบโต
เร็วมาก ซึ่งมีน้ำหนักตัวไม่สอดคล้องกับขานกที่มีขนาดเล็ก จึงมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว หรือขา
ผิดปกติ ดังนั้นเพื่อให้ได้นกกระจอกเทศที่ดีจึงต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแนวทางการเลี้ยงดู ดังนี้
1. ใช้อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่นที่ประกอบด้วยพลังงาน 2,400 กิโลแคลลอรี่ โปรตีน 18% แคลเซียม
1.6% ฟอสฟอรัส 0.8% และเสริมด้วยหญ้าแห้งหรือหญ้าสด นอกจากนี้ควรควบคุมน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศ อย่าให้
น้ำหนักเพิ่มเร็วเกินไปเพราะขายังพัฒนาไม่เต็มที่ที่จะรับน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว
2. ควบคุมการระบายอากาศภายในโรงเรือน ส่วนบริเวณภายนอกสำหรับให้นกกระจอกเทศเดินเล่น
จะต้องระมัดระวังอย่าให้มีเศษวัสดุ เช่นเศษผ้า เหล็ก ตะปู ฯลฯ ตกหล่นอยู่ เพราะนกจะจิกกินซึ่งอาจจะทำให้
นกกระจอกเทศตายได้ (Herdware Disease)
3. จัดอัตราส่วนพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศซึ่งกำหนดพื้นที่ให้ตัวละ 1.5 ตารางเมตร
สำหรับในบริเวณที่เป็นโรงเรือนและบริเวณด้านนอกที่วิ่งเล่นตัวละอย่างน้อย 200 ตารางเมตร และไม่ควรเลี้ยงรวม
เป็นฝูงเดียวกันมากกว่า 40 ตัว
4. เพิ่มภาชนะให้น้ำและอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศ ที่เลี้ยงในแต่ละฝูง และควร
ทำความสะอาดภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเป็นประจำทุกวัน
5. ไม่จำเป็นต้องให้แสงไฟในเวลากลางคืน นกกระจอกเทศจะได้รับแสงสว่างตามธรรมชาติก็เพียงพอแล้ว
6. จดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้อาหาร อัตราการตาย การเจริญเติบโตและอาการผิดปกติต่าง ๆ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ – แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
นกกระจอกเทศที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง จะเริ่มให้ผลผลิตและผสมพันธุ์ได้ เมื่อเพศเมียอายุ 2 ปี
ขึ้นไป และเพศผู้ 2.5 ปีขึ้นไป และจะให้ผลผลิตติดต่อกันนานถึง 40 ปี ดังนั้น เพื่อให้ได้รับผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ
จึงควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ให้อาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน 15-17% พลังงาน 2,300 – 2,600 กิโลแคลลอรี่ แคลเซียม 1.8%
ฟอสฟอรัส 0.9% ให้อาหารวันละ 1-3 กิโลกรัมต่อตัว และควรเสริมด้วยหญ้า นอกจากนี้จะต้องมีหินเกล็ดตั้งไว้ให้
นกจิกกินด้วย เพื่อจะช่วยในการย่อยที่กระเพาะบด
2. ภาชนะที่ให้น้ำและอาหาร ควรทำความสะอาดทุกวันและมีน้ำตั้งให้กินตลอดเวลา
3. อัตราส่วนที่ใช้ผสมพันธุ์ คือ เพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1 – 3 ตัว
4. จัดพื้นที่ให้เหมาะสม โดยใช้พื้นที่ด้านภายในโรงเรือนตัวละ 5-8 ตารางเมตร และบริเวณลานตัวละ
400 – 500 ตารางเมตร และควรเลี้ยงฝูงละ 2 – 4 ตัว (เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 1-3 ตัว) เท่านั้น
5. เก็บไข่ออกทุกวัน และนำไปรวบรวมไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรอการเข้าตู้ฟัก แต่จะต้องมีไข่
ปลอมวางไว้เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศไข่ติดต่อไปเรื่อย ๆ และควรจะขังนกกระจอกเทศไว้ด้านนอกโรงเรือนก่อนที่
จะเก็บไข่ออก เพราะนกกระจอกเทศช่วงผสมพันธุ์จะดุร้าย อาจทำอันตรายได้
6. ตรวจสุขภาพนกกระจอกเทศทุกวัน หากมีปัญหาหรือผิดปกติต้องรีบแก้ไขโดยทันที
7. ตรวจดูสุขภาพภายในโรงเรือนเป็นประจำทุกวัน หากอุปกรณ์ใดชำรุดจะต้องรีบซ่อมแซมให้อยู่ใน
สภาพที่ใช้งานได้ทันทีหรือแก้ไขให้เหมาะสมที่จะใช้งานได้ต่อไป
8. จดบันทึกการให้ผลผลิต การตาย การกินอาหาร การให้ยาและวัคซีน และอื่น ๆ เป็นประจำทุกวัน
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศจะส่งเข้าโรงงานแปรรูปเมื่ออายุ 12-14 เดือน ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 85-110 กิโลกรัม
ผลผลิตที่สำคัญคือ
1. หนัง ประมาณตัวละ 1.2-1.4 ตารางเมตร ซึ่งหนังของนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีและราคาสูงมาก
แพงกว่าหนังจระเข้ นิยมนำไปทำรองเท้าบู๊ต กระเป็า เข็มขัด เสื่อแจ๊คเก็ต ส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
2. เนื้อ มีสีแดงและรสชาดคล้ายเนื้อวัว แต่ไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำกว่าเนื้อวัวมาก ซึ่งจะเหมาะสม
สำหรับผู้มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ และผู้ไม่นิยมรับประทานเนื้อวัว ซึ่งราคาในต่างประเทศประมาณกิโลกรัมละ
500-800 บาท
3. ขน นกกระจอกเทศสามารถให้ขนได้ปีละ 2 ครั้งประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ซึ่งนำไปใช้ทำเครื่องประดับ
ตบแต่งเสื้อผ้า ดอกไม้ และที่สำคัญคือ ใช้ทำไม้ปัดฝุ่น ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอิเลคโทรนิคที่บอบบาง

ที่มา : www.somchaifarm

การเลี้ยงแกะ

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงแกะ

การเลี้ยงแกะของเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นรายได้เสริม ลักษณะการเลี้ยงจึงปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ไม่มีการใช้หลักวิชาการ เพราะมักเข้าใจว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง รวมทั้งต้องการลดต้นทุนการเลี้ยง อย่างไรก็ตามหากผู้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ปรับปรุงการเลี้ยงให้ถูกต้อง ผลตอบแทนจากการเลี้ยงจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว เช่น สุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์ ให้ลูกอ่อนแอ อัตราการของลูกระยะก่อนหย่านมสูง เป็นต้น

          ดังนั้น เกษตรกรผู้สนใจและคิดจะเริ่มเลี้ยงแกะ จึงควรให้ความเข้าใจการเลี้ยงอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกำไรจากการเลี้ยงสูงที่สุด

เป้าหมายการเลี้ยงแกะ
     1.1 ข้อดีในการเลี้ยงแกะ
             – ให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่าการเลี้ยงโค
             – ขนาดตัวเล็ก ให้พื้นที่น้อย เลี้ยงดูง่าย
             – ให้ผลผลิตเนื้อ หนัง ขน
     1.2 เป้าหมายในการเลี้ยงแกะ
            – เพื่อเพิ่มจำนวนลูกหย่านมต่อปีให้สูงขึ้น โดย
            – ลดช่วงห่างการให้ลูกลง จาก 10-12 เดือน เป็น 7-8 เดือน ดูแลจัดการเรื่องการผสมพันธุ์ให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์
             – เพิ่มจำนวนลูกต่อครอกให้สูงขึ้น คัดเลือกลูกแกะที่เกิดจากลูกแฝดมาเลี้ยง ดูแลการให้อาหารเพิเศษแก่แม่พันธุ์ 2 สัปดาห์ก่อนผสมพันธุ์

การเลี้ยงแกะ

[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

หัวข้อ

พันธุ์แกะที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริม
1.) แกะพันธุ์คาทาดิน

             กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2532 เป็นแกะเนื้อที่รัปบตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสิรมอาหารข้น ผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.1 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก. 

2.) แกะพันธุ์ซานตาอิเนส

             เป็นแกะเนื้อ จำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ.2540 ขนาดใหญ่ใบหูยาวปรก หน้าโค้งนูน มีหลายสี น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.

3.) แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบล็คเบลลี

             เป็นแกะเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียน มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม และมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู บอบตา และบิรเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกดก อัตราการเกิดลูกแฝดสูง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กก. ขนาดครอก 1.5-2.3 ตัวต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว 3.0 กก. ลูกแฝด 2.8 กก. น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน ลูกเดี่ยว 1.7 กก. ลูกแฝด 13.4 กก. และน้ำหนักโตเต้ฒที่ เพศผู้ 68-90 กก. เพศเมีย 40-59 กก. 

4) แกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์

             มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา 

             นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้นำแกะพันธุ์เซ้าท์แอฟริกันมัตตอนเมอริโน, แกะพันธุ์คอร์ริเดลและแกะพันธุ์บอนด์ ซึ่งให้ผลผลิตทั้งเนื้อและขนที่มีลักษณะดีเข้ามาเลี้ยงปรับปรุงพันธุ์แกะในประเทศ เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร
         

<!–
[กลับหัวข้อหลัก][ แก้ไข ]
–>

 
การจัดการด้านอาหารแกะ
พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแกะกับแพะ

1. แกะมีนิสัยชอบเล็มหญ้าในทุ่งที่โล่งเตียน ต่างจากแพะ ซึ่งชอบปีน กินใบไม้ เปลือกไม้
2. แพะสามารถอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื่นและร้อนได้ดีกว่าแพะ
3. แพะสามารถปีน กระโดดข้าม หรือแม้แต่การขุดดินมุดรั้วได้ ซึ่งแกะทำไม่ได้
4. แพะฉลาดกว่าแกะ หันหน้าเข้าสู้กับศัตรู ขณะที่แกะจะวิ่งหนีศัตรู ขี้ขลาด และแกะมักอยู่รวมกันเป็นฝูง
5. พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย โดยการปัสสาวะรดที่ขาหน้าท้อง อก และเครา แต่แกะจะมีกลิ่นตัวฉุนรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะผสมพันธุ์

นิสัยการกินอาหารของแกะ
          แกะ สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า หรือพืชที่มีลำต้นสั้น ชอบกินหญาที่งอกขึ้นใหม่ๆ หญ้าหมักและใบพืชผัก ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเลี้ยงแกะในแปลงผักต่างๆ หลัการเก็บเกี่ยวได้ แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน เนื่องจากถ้ากินในขณะพืชผักนั้นยังสดอยู่ อาจทำให้แกะท้องอืดได้ เพราะพืชผักนั้นมีน้ำมาก และควรระวังยาฆ่าแมลงที่ใช้ในส่วนพืชผักนั้นด้วย
          แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดินต่อไป ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่ยังเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดี เพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี การดักหญ้ามนแต่ละครึ้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย
         ในการปล่อยแกะแทะเล็ม ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงมากกว่า 10 นิ้ว จนถึงความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก รวมทั้งยอดอ่อนของต้นพืช ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าที่สั้นตามหลัง
         การเลี้ยงแกะในสวนยาง สวนผลไม้ เช่น ส่วนมะม่วง มะขาม และขนุน เป็นต้น เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช แกะสามารถกินผลไม้ที่ร่วงหล่นลงเป็นอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ยังอาศํยร่มเงาของต้นไม้หลบแสงแดดร้อนได้ แต่ไม่ควรปล่อยแกะลงไปในส่วนที่ผลไม้ร่วมหล่นมากๆ ในครั้งแรก เพราะอาจจะกินมากเกินไป ทำให้ท้องอืดได้ ถ้าเลี้ยงปล่อยอยู่แล้วเป็นประจำก็จะไม่มีปัญหามากนัก

พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม
          – แกะจะเดินหากินอาหารได้ไกลถึงวันละ 6-8 กม.
          – ปริมาณที่กินได้ 3-6% นน.ตัว (ถ้าแกะหนัก 30 กก. จะกินหญ้าสดวันละ 3กก./ตัว)
          – แกะเลือกกินหญ้า 70% ไม้พุ่ม 30% แพะเลือกกินไม่พุ่ม 72% หญ้า 28%
          – ถ้าขัง จะกินน้ำวันละ 0.68 ลิตร/ตัว ปล่อยเลี้ยง 2 ลิตร/ตัว
          – ใช้เวลากินอาหาร 30% เคี้ยงเอื้อง 12% เดินทางหาอาหาร 12% และผักพ่อน 46%

การตัดใบไม้ให้กิน

1. การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรให้เกิน 1 ใน 3 ของหญ้า
2. การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆ ไม่แก่เกินไป
3. ควรตัดใบพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบกระถิน แค ทองหลางให้แม่แกะที่อุ้มท้อง หรือกำลังเลี้ยงลูก
4. ควรตัดให้เหนือจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร
5. ควรผูกกิ่งไม้กแขวนไว้เหนือพื้นเพื่อให้แกะได้เลือกกิน
6. ควรตัดใบไม้มากกว่า 2 ชนิด ให้แกะได้เลือกกิน และปลูกต้นไม้ 2-3 ชนิด ริมรั้วโรงเรือนให้กิกนและให้ร่มเงา
7. ควรปล่อยแกะลงแบบหมุนเวียน แปลงละ 4-5 สัปดาห์ เพื่อใช้แปลงอย่างมีประสิทธิภาพและตัดวงจรพยาธิ
8. ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่ายและตัดเหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิ

  

 
<!–
[กลับหัวข้อหลัก][ แก้ไข ]
–>

 
การจัดการเลี้ยงดูแกะ
ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (ระยะการเป็นสัด)
          แกะเริ่มวัยเจริญพันธู์เมื่ออายุ 3-4 เดือน ตัวเมียจะเป็นสัดยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับผสมพันธุ์ได้ ควรแยกลูกตัวเมียออกไปเลี้ยงเฉพาะในคอกตัวเมีย และจะให้ผสมพันธุ์กันเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป เพื่อให้พ่อแม่มีความสมบูรณ์พันธุ์ก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้ตัวแม่ไม่พร้อมและเลี้ยงลูก น้ำนมน้อย ลูกที่เกิดอาจตัวเล็ก แคระแกรน และอ่อนแอตายได้

ลักษณะการเป็นสัดของแม่แกะ สังเกตดูได้จาก
            – อวัยวะเพศบวมแดง ชุ่มชื้น และอุ่น
            – กระดิกหางบ่อยขึ้น
            – จะยืนเงียบเมื่อตัวผู้หรือตัวอื่นมายืนประกบติด
            – ไม่ค่อยอยู่สุขกระวนกระวาย และไม่อยากอาหาร
            – แม่แกะมีวงรอบการเป็นสัดทุก 17 วัน ส่วนต่าง 2 วัน แม่แพะมีวงรอบการเป็นสัดทุก 21 วัน ส่วนต่าง 2 วัน

ช่วงการผสมพันธุ์
          เมื่อเห็นแม่แกะเป็นสัดแล้ว ระยะที่เหมาะสมให้ตัวผู้ขึ้นทับคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากที่เห็นอาการการเป็นสัด

อัตราส่วนผสม
             พ่อหนุ่ม 1 ตัว ต่อแม่ 10-15 ตัว
             พ่ออายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ตัว ต่อแม่ 20-30 ตัว

ข้อแนะนำ
          1. ไม่ควรนำพ่อผสมกับลูกตัวเมีย หรือลูกตัวผู้ผสมกับแม่ เพราะอาจทำให้ลูกที่เกิดขึ้นตัวเล็กลง ไม่สมบูรณ์ หรือลักษณะที่ไม่ดี พิการออกมา
          2. ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนพ่อพันธุ์ตัวใหม่ทุก 12 เดือน (แลกหรือขอยืมระหว่างฟาร์ม/หมู่บ้าน)
          3. ควรคัดแม่ที่ผสมไม่ติด 2 ครั้งออกไป
          4. ควรแยกเลี้ยงแม่ท้องแก่ และแม่เลี้ยงลูกไว้ในคอกต่างหาก เพื่อกันอันตรายจากตัวอื่น

 ช่วงการอุ้มท้อง (ระยะอุ้มท้อง 150 วัน) 
             – สังเกตดูว่าแม่แกะอุ้มท้อง หรือโดย
             – ไม่แสดงอาการเป็นสัดอีกหลังจากผสมพันธุ์ไปแล้ว 17-21 วัน
             – ท้องขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ
             – เต้านมและหัวนมขยายใหญ่ขึ้นจากเดิม
            
             ช่วงระยะอุ้มท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5 กก. ดังนั้นควรเสริมหญ้า ถั่ว หรือพืชตระกูลถั่วต่างๆ และเสริมอาหาร รำข้าว กากถั่วเหลือง หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แอ้ข้าวโพด และควรมีน้ำสะอาดวางให้กินเต็มที่ และคอกเลี้ยงควรแห้ง สะอาด พื้นคอกแข็งแรง ไม้ระแนงไม่ผุพัง เพื่อป้องกันการแท้งลูก

ช่วงการคลอดลูก
             ลักษณะอาการใกล้คลอดลูกของแม่แกะ สังเกตจาก 
 –
ตะโพกเริ่มขยาย หลังแอ่นลง (เพราะท้องหนักขึ้น)
 – เต้านมขยายใหญ่มากขึ้นและหัวนมแต่ง
 – อวัยวะเพศบวมแดง และชุ่มชื้น
 – จะไม่นอน แต่ลุกขึ้น เอาเท้าตะกุยพื้นคอก
 – ความอยากอาหารลดลง

การเตรียมตัวก่อนแม่คลอดลูก
–  ควรหาคอกที่สะอาด และพื้นไม่ชื้นแฉะ
– ควรมีฟางแห้งรองพื้นให้ความอบอุ่นลูก ช่วงกลางคืน หรือฤดูหนาว ควรมีไฟกกลูก
– พื้นระแนงที่เลี้ยงลูกควรมีช่องห่างไม่เกิน 1.3 ซ.ม.
– ควรมีทิงเจอร์ไอโอดีนทาแผลที่ตัดสายสะดือ

อาการใกล้คลอดลูก
– ท่าคลอดปกติ  ลูกจะเอาเท้าทั้ง 2 ข้างออก หรืออาจจะเอาเท้าหลังทั้ง 2 ข้าง
– ท่าคลอดผิดปกติ เอาเท้าออกข้างเดียว อีกข้างพับอยู่ด้านใน อาจทำให้มีปัญหาการคลอดยาก
         
 ปกติลูกควรจะออกจากท้องแม่ใน 5-15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากที่ถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว และรกควรออกมาภายใน 4-12 ชั่วโมง เมื่อลูกออกมาปล่อยให้แม่เลียลูกให้ตัวแห้งหรืออาจช่วยเช็ดตัวลูก และตัดสายสะดือ ทาทิงเจอร์

สาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดยาก เพราะ
– ลูกคลอดท่าผิดปกติ
– แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบเกินไป
– ลูกตัวใหญ่เกินไป
– ลูกตายในท้องแม่
– แม่ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ

การช่วยการคลอด
              หากลูกคลอดผิดท่า หลังจากปล่อยให้แม่คลอดลูกเองแล้ว ใน 1 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมา ควรให้ความช่วยเหลือ โดย

– ตัดเล็บมือให้สั้น ลับคมออก ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่
– ล้างบริเวณอวัยวะเพศ/ด้านท้ายให้สะอาดด้วยสบู่
– ให้ผู้ช่วยค่อยๆ จับแม่แกะวางนอนลงทางด้านขวาตัวแม่ทับพื้น จับบริเวณคอ
– ค่อยๆ ใช้มือล้วงเข้าไปในอวัยวะเพศ
– สัมผัสลูก ให้รู้ตำแหน่งหัวหรือเท้า แล้วจึงดึงเท้าให้ออกมาทั้ง2 ข้าง ในท่าที่ถูกต้องช้าๆ
– เมื่อลูกออกมาแล้ว เช็ดเมือกบริเวณปากจมูกเพื่อกระตุ้นให้ลูกหายใจแล้วปล่อยให้แม่เลียตัวลูก
– กรณีอื่น ที่ไม่สามารถช่วยคลอดได้ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

             แม่แกะจะเริ่มกลับเป็นสัดอีกครั้ง หลังจากที่คลอดลูกแล้วประมาณ 35-45 วัน ดังนั้น จึงควรระวังหากแม่ยังไม่สมบูรณ์พอ เช่น ต้องเลี้ยงลูกแฝด ควรให้ผสมใหม่เมื่อแม่หย่านมลูกแล้วและมีความพร้อมสมบูรณ์ ถ้าแม่ให้ลูกตัวเดียว สามารถผสมได้เลยเมื่อเป็นสัด 
 

 

 

 
<!–
[กลับหัวข้อหลัก][ แก้ไข ]
–>

 
การจัดการด้านสุขภาพแกะ
 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพแกะ 

– อุณหภูมิร่างกาย 102.5-104 องศาฟาเรนไฮด์
– อัตราการเต้นหัวใจ 60-80 ครั้ง/นาที
– อัตราการหายใจ 15-30 ครั้ง/นาที
– วัยเจริญพันธุ์ 4-12 เดือน 
– วงรอบการเป็นสัด 17+/-2 วัน
– ระยะการเป็นสัด 12-36 ชั่วโมง
– ระยะการอุ้มท้อง 150 วัน

การดูแลสุขภาพของแกะ 

          ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา แกะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ ดังนี้

         1. กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บ เหา ไร ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ และขนหลุดเป็นหย่อมๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดี ผลผลิตลดลง การป้องกันแก้ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก
         2. กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลด ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิทุก 1 เดือน
         
3. การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด


 
<!–
[กลับหัวข้อหลัก][ แก้ไข ]
–>

 
หน่วยงานกรมปศุสัตว์ที่เลี้ยงแกะ

หน่วยงาน
จังหวัด
แพะ
แกะ
รหัส
โทรศัพท์
ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง ราชบุรี 1,2
032
261090
ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ตาก 3
055
511728
ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี 1,2
077
286939
ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา ยะลา 1,2,3
073
214210
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปากช่อง นครราชสีมา 4
044
313072
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ชัยภูมิ ชัยภูมิ 1,2 4,6
044
812370
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน 7,8
053
611031
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปลวกแดง ระยอง 1,2,5
038
618461
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เทพา สงขลา 1,2 3,5
074
239910
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปัตตานี ปัตตานี 1,4,5,6
073
335935
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์นราธิวาส นราธิวาส 1,2 1,2
073
512279
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์กระบี่ กระบี่ 1,2
075
621347
สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ตรัง ตรัง 3
075
218476

 

แพะเนื้อ แพะนม แกะเนื้อ แกะขน
1=แองโกลนูเบียน
2=บอร์
3=พื้นเมือง

4=ซาเนน
5=อัลไพน์
6=ทอกเกนเบิร์ก

1=คาทาดิน
2=ซานตาอิเนส
3=บาร์บาโดส
4=ดอร์เปอร์
5=พื้นเมือง
6=เมอริโน
7=บอนด์
8=คอร์ริเดล

ที่มา กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
<!–
[กลับหัวข้อหลัก][ แก้ไข ]
–>

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 0-6 สัปดาห์
     ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาด หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นต้องมีการดูแลและเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟัก ให้ทำการตัดปากบนออก 1 ใน3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่เพื่อให้ไก่อบอุ่นด้วยอุณหภูมิ 95 องศา F ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศา F กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์
    ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัว/ตารางเมตร การกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกก เช่น กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา และว่างอยู่ใกล้รางอาหาร ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 ขวด ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ และโรคฝีดาษ เมื่อลูกไก่อายุ 1-7 วัน
    การให้อาหารลูกไก่ ระยะกก (1-14 วันแรก) ควรให้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้น อีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่ให้อย่างเหลือเฟือจนเหลือล้นราง ซึ่งเป็นเหตุให้ตกหล่

 

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 7-16 สัปดาห์
     การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-16 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อพื้นที่ 1.4 ตารางฟุต หรือไก่ 8 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย เลี้ยงปนกัน การเลี้ยงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง จะต้องเลี้ยงแบบให้กินอาหารเต็มที่ มีอาหารในถังและรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้ได้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ ให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำ วันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถึงที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต หรือน้ำ 24-32 ลิตร ต่อไก่ 100 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ฉีดเมื่อลูกไก่อายุครบ 8 สัปดาห์
    แต่สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่กว้าง เช่น ในไร่นา หรือที่สวนปลูกไม้ผลหรือมีแปลงหญ้า ก็สามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติแล้วเสริมอาหารผสมในเวลาเย็นใกล้ค่ำ และงดให้อาหารเช้าเพื่อบังคับให้ไก่ไปหากินเอง ถ้าเราให้อาหารเช้าไก่จะไม่ออกหากิน ดังนั้นจึงเปลี่ยนให้อาหารเวลาเย็นเวลาเดียวให้กินจนอิ่มเต็มกระเพาะ ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา ทำการป้องกันโรคระบาดนิวคาสเซิลโดยการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 16 สัปดาห์

 

อ่านบทความนี้ทั้งหมด →

การเลี้ยงแพะ

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงแพะ

การเลี้ยงแพะสำหรับครอบครัวที่บ้านนั้นเป็นการเลี้ยงแบบมีโรงเรือน ในตอนเช้าก็จะมีการนำแพะไปปล่อยกินหญ้าตามทุ่งหญ้าในที่ต่าง ๆ พอประมาณบ่ายโมงก็พาแพะเดินกลับบ้าน ปล่อยให้แพะพักผ่อน ตอนเย็นก็จะให้กินกล้วย หญ้าที่แพะชอบก็คือ ผักกระถินและกล้วย  จะมีแคลเซียมให้แพะกินด้วย ถ้าแพะมีอาการไม่สบายก็จะมียารักษาโรคต่าง ๆ เตรียมไว้เสมอ  สำหรับลูกแพะที่ไม่ได้กินนมจากแม่แพะก็จะต้องมีนมผงสำหรับสัตว์ไว้ให้กินทุกเช้า-เย็น  และโรงเรือนจะต้องมีการทำความสะอาดอยู่เสมอ เพราะถ้าโรงเรือนไม่สะอาดจะทำให้แพะตายได้ หรือไม่สบายได้  การเลี้ยงแพะหรือสัตว์เลี้ยงนั้นสิ่งที่สำคัญคือเราต้องใส่ใจ และดูแลให้เป็นอย่างดี

วิธีการเลี้ยงเด็ก (นางสาวศรินนา    ปาละมี  รหัส 134  สาขาการจัดการทั่วไป) 

     การเลี้ยงเด็กเล็กที่บ้านของศรินนา เป็นศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก และการเลี้ยงเด็กนั้นต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เวลาเด็กมาเรียนช่วงแรก ๆ เราจะต้องมีวิธีการทำให้เด็กไม่ร้องไห้งอแง  โดยการหาวิธีการเบี่ยงเบนความสนใจให้เด็กหันมาสนใจและทำให้เด็กลืมผู้ปกครองที่มาส่งให้ได้  เช่น พาเด็กไปดูการ์ตูน  พาเด็กเล่นของเล่น  แล้วก็จะทำให้เด็กลืมได้เลย

     การเลี้ยงเด็กนั้นเราก็สามารถนำวิธีการเลี้ยงเด็กมาเลี้ยงน้อง เลี้ยงหลานของเราได้ หรืออนาคตถ้าเรามีลูกก็สามารถนำวิธีการเลี้ยงมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

วิธีการทำลาบเนื้อ (นางสาวกาญจนา   กันทา  รหัส102  สาขาการจัดการทั่วไป)

     การทำลาบเนื้อนั้นต้องมีวิธีการปรุงที่ต้องใช้เนื้อแบบสด  ใหม่  หั่นพอดีคำไม่ใหญ่เกินไป  พอดีคำ สำหรับน้ำพริกทำลาบนั้นหาซื้อได้ถ้าเราไม่มีเวลาทำเอง เอาแบบง่าย ๆ ต้องซื้อเจ้าประจำ  และนำมาคลุกเคล้าเข้ากันให้พอดีแล้วปรุงรสให้กลมกล่อมแล้วเสริฟพร้อมกับผักสดได้ทันที

    การทำลาบเนื้อนั้นเราก็สามารถที่จะนำมาลองทำกินดูได้และสามารถรู้วิธีการเลือกสรรวัตถุดิบในการทำได้

การเลี้ยงแมว

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงแมว

 

แมวออกลูก
แมวที่ออกลูกครั้งละ 3 ตัวขึ้นไป หากแม่แมวไม่กินเก่ง หรือแม่แมวไม่อ้วน มีโอกาสที่ลูกแมวจะไม่มีนมกิน และจะตายทั้ง 3 ตัว
แม่แมวที่พิการ หรือมี 3 ขา อาจจะนอนทับลูกคอหักได้
เมื่อแม่แมวออกลูก เพื่อให้แม่แมวมีนมไปเลี้ยงลูกทั้ง 4 ตัว ควรให้กินอาหาร 3 มื้อ และให้กินนมกล่องประมาณ ครึ่งกล่อง และอาจจะให้กินตับไก่ด้วยก็ได้ และควรให้กินน้ำที่สะอาด
ควรเลี้ยงลูกแมวที่เกิดใหม่ไว้ในที่ปลอดภัย อย่าให้แมวที่นิสัยดุเข้าใกล้ จากประสบการณ์ ผมกำลังดูแมวเกิดใหม่ อยู่ดีๆแมวดุก็กระโดดเข้ามา
กัดคอ ลูกแมวตายต่อหน้าผมเลย แมวที่นิสัยดุ อาจจะเป็นแมวตัวผู้ หรือ แมวตัวเมียที่ทำหมันมานานแล้ว
คอยสังเกตุว่า ลูกแมวตัวไหนดูดนมไม่ทันเพื่อน ให้พยายามดึงแมวที่ดูดเก่งออกมารอประมาณ 20 นาที แล้วจึงนำกลับไปดูดนมต่อ (อย่าลืมนำแมวดูดนมเก่งกลับไปดูดนมต่อนะครับ เพราะถ้าแมวที่ดูดนมเก่งไม่ได้ดูดนม อาจจะอดอาหาร และตายในที่สุด แม้จะดูดเก่งก็ตาม) การสังเกตุนี้ต้องสังเกตุติดต่อกัน 3 เดือนตั้งแต่แรกเกิด ลูกแมวถึงจะไม่ตาย
การเลี้ยงลูกแมวเกิดใหม่ แม้เลี้ยงผ่านมา 1 เดือนแล้ว ดูแข็งแรงดี แต่หากเราไม่เอาใจใส่ ลูกแมวที่แข็งแรงอาจตายได้ (อันนี้เรื่องจริง) เราต้องเอาใจใส่มันทุกวันและทุกตัว หากสังเกตุลูกแมวตัวไหนไม่สบายต้องรีบหาทางแก้ทันที
ดูแลที่อยู่ที่นอนของลูกแมว อย่าให้เปียกชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น ควรให้ลูกแมวนอนในกล่องกระดาษที่ปูเศษผ้าไว้พอประมาณ และเปลี่ยนเศษผ้าทุก 2 วัน
หากลูกแมวหรือแม่แมวเป็นหวัดให้อ่านวิธีแก้ในหัวข้อ โรคของแมว
ลูกแมวต้องเลี้ยงเกิน 2 เดือนจนกระทั่งตัวโต จึงจะเริ่มให้อาหารได้ ก่อนเริ่มให้อาหาร 1 สัปดาห์ ควรหัดให้เลียน้ำด้วยตัวเองก่อน ในการให้อาหาร อย่าให้อาหารที่ชิ้นโต เพราะอาจติดคอลูกแมวตายได้ (หลังจากลูกแมวตายผมเห็น ฮ็อทด็อก ไหลออกมาจากคอ ผมไม่น่าป้อน ฮ็อทด็อก มันเลย)
แม้แมวที่เกิดจะเป็นแมวดำก็อย่ารังเกียจมัน ตอนนี้ผมก็เลี้ยงอยู่ 2 ตัว มันเป็นลูกของไอ้สีสวาท
ฯลฯ

 

อ่านบทความนี้ทั้งหมด →

การเลี้ยงกระต่าย

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงกระต่าย

สายพันธุ์กระต่าย

สำหรับชาวชอบเลี้ยงกระต่ายทั้งหลายการเลี้ยงกระต่ายนั้นมี สายพันธุ์กระต่าย ให้เลี้ยงมากมายวันนี้เราก็จะมาพูดถึงเรื่องนี้กันนะครับ เราจะทำการแนะนำกระต่ายสายพันธุ์ต่างๆ อันดับแรก
1.กระต่ายไทย
เป็น สายพันธุ์กระต่าย พื้นบ้านของประเทศไทยคับ ลักษณะตัวใหญ่ มีหลากหลายสี ว่องไวปราดเปรียว หูยาว หน้าค่อนข้างจะกลม มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูง
2.นิวซีแลนด์ ไวท์ แรบบิท
เป็นสายพันธุ์กระต่ายพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์ ลักษณะตัวใหญ่กว่ากระต่ายไทย มีขนสีขาวจนถึงเหลืองอ่อนๆ หูยาว ตาแดง มีลักษณะลำตัวอ้วนตัน ใช้สำหรับเป็นอาหารและการทดลอง
3.ไลอ้อนเฮดท์
เป็นกระต่ายที่ตัวใหญ่ มีขนเป็นแผงคอจึงทำให้ดูเหมือนสิงโต ตัวอ้วน น้ำหนักมาก มีหลายสี
4.เท็ดดี้แบร์
เป็นสายพันธุ์กระต่ายที่มีขนาดกลางๆ มีขนฟูทั่วตัว ดูเเล้วน่ารัก มีหลากหลายสี พบได้ง่ายในท้องตลาด
5.วู๊ดดี้ทอย
เป็นกระต่ายขนาดค่อนข้างเล็ก มีขนนุ่มๆฟูๆกระจายไปทั่วตัว คล้ายๆเท็ดดี้แบร์ แต่จะตัวเล็กกว่า มีหลายสี อาจหาได้ยากกว่าเท็ดดี้แบร์
 
อ่านบทความนี้ทั้งหมด →

การเลี้ยงสุนัข

Published กุมภาพันธ์ 13, 2012 by sarinda20206

การเลี้ยงสุนัข

การเลือกและดูแลเลี้ยงดูลูกสุนัขแรกเกิดถึงหย่านม การนำลูกสุนัขมาเลี้ยงนั้น อายุที่สมควรจะนำมาเลี้ยงนั้น ควรเป็นอายุประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์ เพราะลูกสุนัขจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ที่ทำให้ลูกสุนัขเสียชีวิตอยู่บ่อยๆ มาเรียบร้อยแล้ว คือ โรคลำไส้อักเสบจากไวรัส และโรคหัด ซึ่งถ้าลูกสุนัขได้รับเชื้อไวรัสเหล่านี้ และไม่มีภูมิคุ้มกันพอ และเมื่อแสดงอาการของโรคแล้วมากกว่า 90% ของลูกสุนัขจะตาย โดยเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกที่อายุ 6 สัปดาห์ และต่อจากนั้นคุณหมอจะแนะนำโปรแกรมที่ถูกต้องให้แก่เจ้าของเอง นอกจากนั้นลูกสุนัขที่มีอายุขนาด (6-8 สัปดาห์) นี้จะไม่โตหรือเล็กเกินไป จะยอมรับเจ้าของใหม่ได้ง่าย และเริ่มหย่านมได้แล้ว สรุปได้ว่า อายุสุนัขที่ควรนำมาเลี้ยงควรจะอยู่ระหว่าง 2-3 เดือน การเลือกลู

อ่านบทความนี้ทั้งหมด →